อ.พิชญะ วัชจิตพันธ์
หากจะกล่าวถึงพืชกลุ่มหนึ่งที่ถูกผู้คนเข้าใจผิดคิดว่าเป็นแคคตัส
บ่อยครั้งที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้นพืชอวบน้ำใน
สกุลยูโฟเบีย
(Euphorbia)
ซึ่งจัดอยู่ในวงศ์ Euphorbiaceae
ด้วยลักษณะทางกายภาพหลายๆอย่างที่คล้ายคลึงกับไม้ในวงศ์แคคตัส
(cactaceae)
อย่างเช่นลำต้นที่อวบน้ำไร้ใบและหนามมากมายที่แหลมคม จนบางครั้งเจ้าไม้สกุลนี้ได้ถูกขนานนามว่า
master of mimicry หรือเจ้าไม้จอมเลียนแบบ เพราะไม้สกุลนี้สกุลเดียวมีรูปลักษณ์หลากหลายมากมายและก็ไปคล้ายคลึงกับพืชสกุลอื่นมากมายหลายสกุล
จนทำให้ผู้คนสับสนดังกล่าว
|
|
ส่วน Euphorbia obesa
จากแอฟริกาไต้
|
บางทีนักพฤษศาสตร์ที่ตั้งชื่อไม้เหล่านี้
ก็นำเอาชื่อของไม้ที่คล้ายคลึงกับมันมาใช้
เช่นEuphorbia gymnocalycioides
จากเอธิโอเปียได้ถูกตั้งชื่อเพื่อบ่งบอกลักษณะของมัน
ที่คล้ายคลึงกับแคคตัสสกุล Gymnocalycium
ของ อเมริกาใต้
|
ส่วนที่เกาะมาดากาสการ Euphorbia
pachypoides ก็คล้ายกับไม้สกุล Pachypodium
จากวงศ์ apocynaceae เป็นต้น
อย่างไรก็ตามไม้สกุลนี้ไม่ได้เป็นญาติใกล้ชิดกับพวกแคคตัสหรือพวกPachypodiumแต่อย่างใด
แต่กลับเป็นญาติกับพวกมะยมและต้นยาง
ซึ่งลักษณะที่จำแนกพืชสกุลนี้เด่นชัดที่สุดก็คือดอก
แต่ผู้เขียนไม่ขออธิบายรายละเอียดทางวิชาการในที่นี้
เพราะเชื่อว่าหากท่านได้มองดูดอกของEuphorbiaด้วยตัวเองสักครั้งสองครั้ง
ก็คงจะไม่มีวันสับสนกับดอกของพวกแคคตัสหรือไม้สกุลอื่นเป็นแน่
การจัดกลุ่ม Euphorbia
ในเมืองไทยก็มีEuphorbiaท้องถิ่นเช่นกัน
นั่นก็คือ Euphorbia antiquorum หรือสลัดไดนั่นเองซึ่งก็คล้ายคลึงกับอีกชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกกันมากนั่นก็คือ
Euphorbia lactea ซึ่งช่วงนี้ก็เห็นมีหงอนหลากหลายสีสวยงามออกมาขาย
(ผู้เขียนไม่ถนัดกับชื่อสามัญนักถ้าหากผิดก็ขออภัยในที่นี้)
และชนิดอื่นๆที่นิยมปลูกกันในประเทศไทยก็เช่น
Euphorbia trigona, Euphorbia trigona red form, Euphorbia neriifolia,
Euphorbia viguieri, Euphorbia tirucalii(นางพญาไร้ใบ),
Euphorbia milii(โป๊ยเซียน)ฯลฯ
หากท่านผู้รู้จะชี้แนะชื่อไทยของแต่ละชนิดก็จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง!
นอกจากนี้ยังมีพันธ์ที่ปลูกเลี้ยงกันอีกมากมายในกลุ่มคนปลูกแคคตัสและไม้อวบน้ำ
ก็ต้องเลือกปลูกกันตามความชอบของแต่ละคนเนื่องจากมันมีหลากหลายฟอร์มหลากหลายทรงเหลือเกิน
มานั่งแยกว่ามีกี่ฟอร์มก็ยาก
ผู้เขียนลองมานั่งคิดดูเลยเห็นว่าฟอร์มภายนอกหลักๆที่เห็นบ่อยๆก็จะมีดังนี้
แต่ก็มีพวกที่จัดอยู่ในกลุ่มไม่ได้อีกมาก
|
|
|
|
E. tortirama, E. stellata, E. squarrosa
|
|
|
|
|
E. meloformis, E. turbiniformis, E. susannae,
E. piscidermis, E. gymnocalycioides, E. sepulta
|
E. albipollinifera, E. inermis
|
|
|
6)กลุ่มพวกเป็นพุ่มหรือเดี่ยว มีใบ ลำต้นหนา เช่น E. millii, E. ambovombensis, E. decaryi,E. francoidii, E. gottlebei, E. viguieri,
E. poissonii, E. venenifica, E. unispina
|
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มเล็กๆอีกมากที่ผู้เขียนไม่รู้จะจำแนกไว้ในกลุ่มไหน
ที่มีทรงต้นไม่ซ้ำใคร เช่นพวกที่เป็นไม้เล็กมีใบที่ยอดอย่าง E. hadramautica,
E. napoidea, E. bupleurifolia และยังมีพวกที่ยิ่งประหลาดพิลึกกึกกือเข้าไปอีกอย่างพวก
E. longituberculosa,
E. globulicaulis, E. horwoodii ที่ตอนแรกก็เหมือนไม้กลมๆ
ธรรมดา แต่ไปๆมาๆโตขึ้นยังมีลูกเล่นออกกิ่งก้านมาบ้าง กิ่งออกมามีใบไม่มีใบบ้าง
จนคนจำแนกก็ปวดหัวไปตามๆ กัน
แต่ความหลากหลายนี่แหละที่ผู้เขียนเห็นว่าเป็นเสน่ห์ของไม้สกุลนี้
เนื่องจากที่กล่าวไว้แล้วว่าEuphorbia
นั้นหลายชนิดมาจากที่แห้งแล้งเช่นเดียวกับแคคตัส
ดังนั้นการปลูกดูแลพวกEuphorbiaเหล่านี้ก็เหมือนของแคคตัสทุกประการ
แต่ Euphorbia นั้นเป็นสกุลใหญ่
ดังนั้นจึงมีบางตัวที่อาจมีข้อยกเว้น หลายชนิดที่เรารูจักกันดีแม้จะมาจากที่แห้งแล้งแต่ก็สามารถทนฝนได้ดี
ส่วนใหญ่ไม้ทนเหล่านี้จะเป็นไม้จากแถบอินเดียและมาดากาสการ์ หรือเขตร้อนชื้นอื่นๆ
เช่น
Euphorbia lactea, E. tortilis, E. viguieri, E. gottlebei.
บางชนิดชอบร่มแต่ไม่แฉะนัก คือกลุ่มพวก E.
francoisii , E. decaryi
บางชนิดแฉะนานๆไม่ได้เลยซี้แหงแก๋เน่าแน่ๆ
ส่วนใหญ่พวกนี้มาจากแอฟริกาใต้, นามิเบีย
และโซมาเลีย
สองประเทศแรกนั้นไม่ใช่แห้งอย่างเดียวแต่อากาศเย็นด้วย
พอไม้พวกนี้มาอยู่เมืองไทยก็มักจะมีปัญหา
อย่างเจ้า E. obesa
ที่เมืองนอกเขาปลูกกันเยอะๆนั่นดูเหมือนมันจะไม่ค่อยถูกกับอากาศเมืองไทยเท่าไหร่ ก็เลยตั้งหน้าตั้งตาเป็นสนิมไปตามๆกัน
สิ่งที่ผู้เขียนย้ำเสมอก็คืออยากให้คนปลูกแคคตัสและไม้อวบน้ำทุกคนหันมาสนใจศึกษาถึงแหล่งที่มาของไม้ที่ตนปลูกหรือสนใจจะปลูกเพราะนั่นจะเป็นประโยชน์มหาศาล เท่ากับว่าเราเข้าใจสภาพแวดล้อมที่ต้นไม้นั้นๆต้องการ และสามารถจัดสภาพให้เหมาะสมกับการปลูก
หรือเมื่อเห็นว่าไม่น่าจะปลูกได้ก็ยกเลิกความคิดที่จะปลูกไปเลยก่อนที่จะเสียสตางค์ซื้อ (ซึ่งผู้เขียนเองก็เสียไปมาก!)
การเพาะเมล็ด Euphorbia
การเพาะเมล็ดก็เหมือนแคคตัสอีกนั่นแหละ
แต่มีข้อแตกต่างตรงที่หลังจากครอบถุงพลาสติกทิ้งไว้แล้วเมล็ดขึ้นกันหมดหรือไม่ขึ้นอีกแล้ว
ก็ค่อยๆเปิดถุงออกแล้วเลี้ยงภายนอกถุงโดยคอยรดน้ำให้ดินชื้น
เนื่องจากหากทิ้งไว้นานในถุงจะมีเปอร์เซ็นต์เน่าสูง ผู้เขียนเรียนรู้จากประสบการณ์อันเจ็บแสบหลังจากที่สูญเสียต้นอ่อนของE.
gymnocalycioidesไปทั้งpotเพราะทิ้งมันไว้ในถุงนานเกินไป
ส่วนเรื่องแสงนั้นสำหรับการเพาะเมล็ดไม่ต้องมากก็ได้
แต่หากไม่โดนแดดเลยจะทำให้ต้นยืดอ่อนแอและเน่าได้ง่าย
การเก็บเมล็ดEuphorbiaจากต้นแม่
จะต้องมีเทคนิคนิดหน่อยเพราะเมล็ดเวลาแก่จะระเบิดออกกระเด็นไปไกล
บางท่านใช้วิธีเด็ดเอาเลยก่อนที่มันจะระเบิด
คือสังเกตเมื่อไหร่ที่ฝักมันยื่นออกมามากชี้ขึ้นฟ้า และเปลี่ยนสีก็ให้เด็ดได้เลย
แล้วทิ้งไว้ในซองกระดาษให้ไประเบิดออกเองในซอง ส่วนท่านอาจารย์มนตรีเคยกล่าวแนะนำให้ผู้เขียนใช้สำลีคลุมฝักไว้บนต้น
พอเม็ดระเบิดออกก็จะอยู่ในสำลี
ซึ่งผู้เขียนก็เห็นว่าเป็นทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่ง
การต่อยอด Euphorbia
การต่อยอดEuphorbiaนั้นทำได้เช่นเดียวกับcactus
คือจะใช้ในการเลี้ยงชนิดที่โตช้าหรือเลี้ยงยาก หรือเพื่อการขยายพันธ์อย่างรวดเร็ว
ที่ต่อขายกันก็เป็นพวก Euphorbia
lactea variegate cristata สีต่างๆ ที่ต่อกันบนตอ E.neriifolia
ส่วนไม้หายากอย่างพวก E. piscidermis,
E. turbiniformis,
E. abdelkuri, E. columnaris
ส่วนใหญ่ต่อกันบน E. lactea, E. trigona,
E. fruticosa และ E. canariensis.
|
|
ผู้ปลูกหลายท่านนิยมตอ E. lactea
เพราะโตเร็วมากแรงส่งดีแต่แตกกิ่งข้างเยอะต้องคอยเด็ดออก
บางท่านก็ชอบใช้ E. canariensisซึ่งก็ทนและไม่แตกกิ่งมากนัก.
การต่อก็ไม่ยุ่งยากมากหากแต่ว่าจะต้องมีที่ฉีดfoggyไว้ใกล้มือ
การตัดตอก็ต้องตัดให้ใกล้ยอดที่สุดเท่าที่จะเป็นได้เพราะหากตัดต่ำ
เนื้อจะแข็งและต่อจะไม่ติด
พอตัดเสร็จก็เอาfoggyปรับให้ฉีดเป็นสาย
ฉีดน้ำสะอาดล้างยางที่ไหลออกมาจนหยุดไหล
ทำเช่นเดียวกันกับหัวที่จะนำมาต่อพยายามอย่าให้มียางสีขาวหลงเหลือ
เสร็จแล้วก็ทาบกันเลยให้แนบชิดกันพอดี
ต้องคอยสังเกตวงแหวนท่อน้ำเลี้ยงให้ตรงกัน
เสร็จแล้วก็เอาสก๊อตเทปพันหรือเอาหนังยางรัดให้อยู่ตัว
แล้วก็เอาถุงพลาสติกคลุมอีกทีเพื่อรักษาความชื้น
ส่วนใหญ่จะเห็นว่าติดหรือไม่ภายในสองวัน
เอาออกจากถุงแล้วลองดึงเบาๆถ้าไม่หลุดแสดงว่าติด
ก็นำไม้นั้นไปพักไว้ในที่ร่มสักสองอาทิตย์ก่อนออกเจอแดด
คำเตือน!!ยางของEuphorbiaนั้นมีพิษร้ายแรง
หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับยางโดยตรง
หากท่านสงสัยตรงไหนเกี่ยวกับการดูแลต้นEuphorbiaของท่าน
ก็อย่าเกรงใจติดต่อสอบถามได้ หรือไม่ก็postในweb
boardของ mycacti.com
23 กันยายน 2547
1 comment:
สวัสดีครับ ผมมีเรื่องสงสัยเกี่ยวกับ euphorbia cocklebur อ.พอจะมีข้อมูลบ้างไหมครับ พอดีพึ่งซื้อมาเลี้ยง แล้วมันใช่ยูโฟเบีย สับปะรด มั๊ยครับ
Post a Comment